Freight Weekly Update [1– 7 Jul 2025]
อัปเดตโลจิสติกส์ Freight ระหว่างประเทศ (1–7 ก.ค. 2025)
ช่วงต้นกรกฎาคม 2025 สถานการณ์โลจิสติกส์ระหว่างประเทศยังร้อนแรงจากแรงกระเพื่อมของนโยบายภาษีสหรัฐฯ ความแออัดของท่าเรือ และการปรับตัวของสายการเดินเรือทั่วโลก ขณะเดียวกัน ผู้ส่งออก-นำเข้าไทยยังต้องรับมือกับค่าระวางที่ผันผวนและการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น
สหรัฐฯ เดินหน้ากดดันทั่วโลก: เวียดนามปิดดีลกับสหรัฐฯ ได้เป็นประเทศในอาเซียน ขณะที่ประเทศอื่นๆ ต้องเจรจาเพิ่มเติม
- สหรัฐฯ ประกาศภาษีนำเข้าใหม่กับหลายประเทศ มีผลตั้งแต่ 1 ส.ค. 2025:
- ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, มาเลเซีย, คาซัคสถาน ฯลฯ 25–40%
- ไทย, กัมพูชา โดนภาษี 36%
- เวียดนามเจรจาได้ภาษีเพียง 20% (จากเดิมจะถูกเก็บ 46%) ส่งผลให้สินค้าเวียดนามได้เปรียบในการแข่งขัน
- สินค้าที่ถ่ายเทจากจีน (transshipped) โดนภาษีสูงถึง 40%
- ผู้ซื้อสหรัฐฯ ปรับกลยุทธ์:
- สั่งเฉพาะของจำเป็น
- ลดการเติมสต็อก
- รอความชัดเจนนโยบายภาษี
- ผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทย:
- เสี่ยงเสียคำสั่งซื้อให้เวียดนาม
- ราคาแข่งขันยากขึ้น หากมีสินค้าจีนเข้ามาผ่านอาเซียน
ความเคลื่อนไหว Red Sea และเส้นทางเรือ
- ความเสี่ยงทางทะเลยังมี แม้ความตึงเครียดอิหร่าน–อิสราเอลลดลง
- สหรัฐฯ เคลื่อนย้ายกำลังทางทหารเพิ่ม
- ยังมีการรบกวนสัญญาณใกล้ช่องแคบ Hormuz
- ราคาน้ำมันเรือ (VLSFO) เพิ่มขึ้น $35/ตัน
- เรือยังคงวิ่งอ้อมแหลม Good Hope แม้ Suez ลดค่าผ่าน 15%
ความต้องการ Container ทั่วโลกฟื้น ยกเว้นอเมริกา
- Global Container Demand พ.ค. 2025:
- ทั่วโลก +8% เมื่อเทียบปีต่อปี
- หากไม่รวมอเมริกาเหนือ: +6%
- อเมริกาเหนือดิ่งลงหนัก:
- นำเข้า: −4%
- ส่งออก: −1%
- Pacific routes: −15% นำเข้า, −16% ส่งออก
- สายเรือหันไปเส้นทาง intra-Asia, EU, ตะวันออกกลาง มากขึ้น
เส้นทางที่ยังแออัด: ไทย–บังกลาเทศแน่น, ยุโรปเริ่มเปลี่ยนพอร์ต
- สายเรือ CMA CGM, OOCL, ONE ฯลฯ:
- เปลี่ยนพอร์ตในยุโรปจาก Antwerp → Zeebrugge เพราะความแออัด
- สายเรือยังคงเก็บ GRIs/PSS ในเส้นทางเอเชีย–EU, เอเชีย–US, LATAM
ท่าเรือทั่วโลกยังหนาแน่น: สิงคโปร์, เวียดนาม, อินเดีย เสี่ยงดีเลย์สูง
- สิงคโปร์ & Port Klang:
- ดีเลย์ 7–10 วัน, แนะนำเผื่อเวลา 10–15 วัน
- อินเดีย (Nhava Sheva, Mundra):
- ดีเลย์ 7–10 วัน, เสี่ยง rollover
- เวียดนาม (HCM):
- ดีเลย์ 5–7 วัน
- ไทย (แหลมฉบัง):
- เรือขาออกจากไทยไปปากีสถานและบังกลาเทศยังคงมีสเปซจำกัดและราคาค่อนข้างสูง บางครั้งลูกค้าต้องจองสเปซไปก่อนทั้งที่ราคายังไม่ออก เพื่อความมั่นใจว่าจะได้ส่งออกแน่นอน
- สถานการณ์หัวลากที่ท่าเรือแหลมฉบังดีขึ้นแล้ว ท่าหนาแน่นน้อยลง
- หลายๆท่าเรือยังคงหนาแน่นและสเปซเรือยังคงดีเลย์ โดยเฉพาะ อินเดีย สิงค์โปร์ เวียดนาม
- ยุโรป (Antwerp, Hamburg):
- ขาดแคลน reefer plug, เริ่มเบี่ยงไป Zeebrugge
- ลาตินอเมริกา/แอฟริกา:
- บราซิล: ปัญหาแรงงาน/IT
- เม็กซิโก: ดีเลย์ที่ประตูศุลกากร
- แอฟริกาใต้: รอผลเจรจาแรงงาน
ค่าระวางผันผวน: ค่าระวางโดยรวมอ่อนตัว เส้นทางเอเชีย–US ปรับตัวลงไปใกล้เดียงกับช่วงเดือน มี.ค. 2025
- ดัชนี Freight ล่าสุด:
- SCFI (USWC): ลดลงกลับไปเท่าระดับ มี.ค. 2025
- ดัชนี SCFI โดยรวม: −5% อยู่ที่ 1,763.49
- ZUPPORTS Freight Rate Trend ราคาเฟรท นำเข้าส่งออกจากไทย มี แนวโน้มราคาเฟรทบางเส้นทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ Intra Asia ในขณะที่เส้นทางส่งออกจากไทย ไปสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง สนใจข้อมูลสมัครใช้บริการได้ที่ https://zupports.co/register/
ZUPPORTS แพลตฟอร์มโลจิสติกส์ที่ช่วยคุณรับมือทุกสถานการณ์
ไม่ว่าค่าระวางจะผันผวนแค่ไหน หรือท่าเรือจะแออัดเพียงใด ZUPPORTS คือผู้ช่วยมืออาชีพของผู้นำเข้าส่งออก
✅ เปรียบเทียบราคาค่าระวางจากหลายสายเรือได้ในไม่กี่คลิก มี Freight Rate Trend เช็คราคาเฟรท ง่ายๆ
✅ วางบิลออนไลน์ ตรวจสอบค่าใช้จ่ายอัตโนมัติด้วย AI
✅ ทีมแอดมินช่วยประสานงานแบบเรียลไทม์
✅ ติดตามข่าวสารโลจิสติกส์อย่างสม่ำเสมอ
👉 สมัครทดลองใช้งานฟรี ได้ที่: https://zupports.co/register/