ในชีวิตจริงของคนทำงานอย่างเราๆ กิจกรรมและกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่งที่หลายคนเคยได้รับมอบหมายหรือเคยต้องทำโดยเฉพาะบรรดาน้องใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงาน เรียกว่าที่ยังไม่มีชั่วโมงบินแต่ที่มีแน่ๆคือเวลาในการต่อและรอสายโทรศัพท์ นั่นคือการสอบถามหรือตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายทางเรือ หรือที่เราเรียกติดปากกันว่า “การเช็คค่าเฟรท” กับทางสายการเดินเรือหรือผู้รับขนส่งนั่นเอง
บ่อยครั้งที่บรรดาน้องใหม่หลายคนรวมถึงบรรดารุ่นพี่มือโปร เคยพบเจอว่าราคาที่เราได้มาจากสายการเดินเรือหรือผู้รับขนส่ง บางครั้งได้มาเป็นตัวเลขกลมๆ
ขณะที่บางครั้งราคาที่ได้มาไม่ใช่ตัวเลขกลมๆแถมแยกรายการออกมาเป็นหน้ากระดาษ…
ซึ่งในภาวะปัจจุบัน นอกจากราคาค่าเฟรทที่ชวนกุมขมับแล้ว สิ่งที่ซ้ำเติมและชวนมึนงงให้สงสัยไม่แพ้กันคือบรรดาค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวย่อต่างๆ ที่พ่วงท้ายมานี่ล่ะ
และยิ่งบางสายเรือล้ำกว่าด้วยการใช้ตัวย่อหรือเรียกค่าใช้จ่ายต่างจากเพื่อนๆสายอื่นยิ่งหนักขึ้นไปใหญ่ เรียกได้ว่าในสถานกาณ์ปัจจุบัน ค่าเฟรทพุ่งทำอ่อนแรง ยิ่งยิ้มแห้งเวลาเจอตัวย่ออีก
ในฐานที่แอดมินเคยผ่านจุดที่ปวดหัวเช่นนั้นมาก่อน เนื่องจากการแจ้งค่าเฟรทเมื่อเกือบยี่สิบปีที่แล้ว ไม่ได้มีการปิดราคาเป็นก้อนเดียวเหมือนในปัจจุบัน แต่มักจะปิดแยกเป็นรายการต่างๆ
ยิ่งในภาวะปัจจุบันการจะติดต่อสายการเดินเรือเพื่อทำการสอบถาม ก็ยากเย็นกันเหลือเกิน วันนี้เราลองมาทำความรู้จักกับตัวอักษรย่อค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เรามักพบเจอในชีวิตการทำงานในรูปแบบการจัดหมวดหมู่ เพื่อใช้ในการพึ่งพาตนเองเบื้องต้น กันเลย
=========================
พิเศษ! ผู้นำเข้า ส่งออก เช็คราคาเฟรท FCL พร้อมดู Trend ราคาย้อนหลัง ลงทะเบียนที่
https://forms.gle/ftfWmJxPumykSfQZ8
=========================
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ค่าใช้จ่ายที่เจอนั้น มันควรจัดอยู่ในจำพวกไหน ซึ่งในบรรดาเจ้ารายการค่าใช้จ่ายที่เห็นมากมายก่ายกองนั้น เอาเข้าจริงมันสามารถจับกลุ่มเข้าพวกหลักๆไม่เกินสองหรือสามส่วน คือ ตัวส่วนที่เป็นค่าระวางหรือเฟรท กับส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมบริการต่างๆที่พ่วงเข้ามาตามค่าเฟรท ซึ่งไม่เกี่ยวกันกับค่าธรรมเนียมท้องถิ่นหรือที่เราเรียกว่า Local Charge ต้นทางหรือปลายทาง
ที่นี่เราลองมาดูกันว่าค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จะถูกจับอยู่กลุ่มใด
1.ค่าใช้จ่ายหมวดหมู่ Freight Rate
ซึ่งหลักทั่วไปเราต้องรู้ก่อนว่า ค่าระวางเรือหรือค่าเฟรท แท้จริงมันไม่ได้มีแค่ค่าเรือแต่มันมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ซ่อนอยู่ในเฟรท เช่นค่าน้ำมันต่างๆ ค่าความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนรวมถึงค่าดำเนินการต่างๆที่จัดพวกอยู่ในกลุ่มเฟรท โดยตามปกติแล้วในปัจจุบันสายการเดินเรือหรือผู้รับขนส่งหลายรายมักทำการเสนอราคาแตกต่างกัน หากเจอสายการเดินเรือทำการเสนอราคาในลักษณะเหมารวม หรือAll In ( AI)ก็อาจสบายไป แต่หากเจอกรณีการเสนอราคาในรูปแบบกลัวเจ็บ คือเล่นใส่รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ไม่รวมในเฟรทพ่วงท้าย หรือหลายคนชอบใช้คำว่า Subject to …เป็นหางว่าว เรามาดูกันต่อเลยว่ามันคืออะไรบ้าง
1.1 *หมวดหมู่ค่าเฟรทที่เป็นตัวเนื้อค่าระวางหรือค่าเฟรท และค่าธรรมเนียมแฝงซ่อนในเนื้อเฟรทในบางกรณี
OCF : Ocean Freight : หากเจอคำนี้ มันคือระวางขนส่งนั่นล่ะ แต่ต้องทวนให้ดีว่ามันมีคำว่า AI หรือไม่ หรือบ่อยครั้งคำว่า ออลอินรวมทุกอย่างแต่ไม่รวม…หรือรวมไม่หมด ซึ่งส่วนมากมักไม่รวมค่าใช้จ่ายภาระทั้งต้นทางและปลายทาง แถมอีกนิดในหัวข้อนี้ ไม่ต้องงงถ้าเจอตัวย่อนี้ FAK (Freight All Kind) เพราะมันหมายถึง ค่าเฟรทสำหรับสินค้าทั่วๆไป
CAF / YAS : ค่าประกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนโดยมักจะคำนวนเป็นร้อยล่ะจากค่าเฟรท ซึ่งหากเป็นญี่ปุ่นจะมีตัวเรียกของตนเองต่างหาก( เหมือนขนาดรองเท้าเลย มีเป็นของตัวเอง) โดยค่าใช้จ่ายนี้มีไว้เป็นตัวรองรับไม่ให้สายเรือเจ็บตัวเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เท่ากันของแต่ล่ะที่นั่นเอง
BAF/ BUC/ EBS/ FCR/ LSA – LSS : ตัวอักษรย่อทั้งหมดที่เห็นนี้คือ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับค่านำมันทั้งหมด หากแต่มีความหลากหลายและแตกต่างกันบริบทต่างๆ เช่น
BAF/ BUC ( Bunker)ค่าน้ำมันเรือแบบธรรมดา
LSA/ LSS ( Low Sulphur Fuel Surcharge ) ค่าน้ำมันแบบกำมะถันต่ำเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมหรือแนวรักโลก และ
EBS/FCR ค่าความผันผวนของราคาน้ำมัน
——————————————————————-
1.2 หมวดหมู่ค่าเฟรท แต่เป็นค่าบริการที่เรียกว่าพวก Handling ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการจัดการพิเศษด้านความปลอดภัยตามหลักสากล แต่เรียกเก็บอยู่ในเฟรทหรือติดไปกับเฟรท ซึ่งโดยมากจะเป็น
ISPS/CSF/ SPS เป็นค่าดำเนินการเกี่ยวด้านมาตรฐานความปลอดภัยของท่าและตัวเรือ
WRS (War Risk Surcharge )/ PRS ( Piracy Risk Surcharge ) พวกเสี่ยงภัยทั้งหลาย
————————————————————-
1.3 *หมวดหมู่ค่าเฟรท แต่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่าผ่านน่านน้ำ หรือค่าผ่านร่องน้ำต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายในหมวดหมู่นี้จะเกิดเมื่อเส้นทางการขนส่งงานของเราผ่านน่านน้ำนั้นๆ หลายคนที่พอมีความรู้เรื่องเส้นทาง อาจแย้งเมื่อเจอมั่วเรียกเก็บ เช่นเส้นทางขนส่งจากเมืองไทยไปเมืองจีนไม่น่าจะผ่านคลองปานามา เว้นแต่ว่าเจอพาทัวร์
SUZ /SCS ( Suez Canel Toll fee / Suez Canel Transit Fee ) ค่าผ่านคลองซุเอส คลองที่ทุกคนรู้จัก
GAS ( Gulf of Aden Surcharge ) ค่าผ่านอ่าวเอเดน
PCS/PNC ( Panama Canel Transit Surcharge ) ค่าผ่านคลองปานามา
————————————————————
1.4 *หมวดหมู่ค่าเฟรทที่เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสพิเศษต่างๆ หมวดหมู่นี้ความหมายตรงตัวตามที่ระบุและแน่นอนไม่มีใครอยากเห็นประกาศที่เกี่ยวกับตัวย่อต่อไปนี้แน่
PSS ( Peak Season Surcharge) แปลแบบเข้าใจง่ายคือค่าเฟรทที่เรียกเก็บเพิ่มในวาระที่การขนส่งชุกชุม สบายใจได้อยู่บ้างตรงที่ตัวนี้มีและจะหายไปเมื่อหมดหน้าชุกชุม ซึ่งเท่าที่เจอช่วงที่ผ่านมาคือชุกชุมทั้งปี
GRI ( General rate Increase) การปรับขึ้นราคาค่าเฟรทโดยอิงตามสภาพตลาดเรือและการขนส่ง
RR ( Rate Restoration ) การเรียกเก็บเพิ่มเพื่อรักษาสมดุลในช่วงที่ค่าเฟรทลงต่ำเกินไป เชื่อว่าไม่เห็นตัวนี้มาสักพักเพราะค่าเฟรทไม่มีคำว่าต่ำเลยในช่วงนี้
OWS ( OverWeight Surcharge ) ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บเพิ่มหากน้ำหนักสินค้าเกินกว่าที่สายเรือหรือผู้รับขนส่งกำหนด
WSC ( Winter Surcharge ) ค่าใช้จ่ายบวกเพิ่มในกรณีประเทศปลายทางอยู่ในช่วงฤดูหนาว แน่นอนก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในกินกรรมพิเศษเกิดขึ้นกันบ้าง
***************************************************************************
2.ค่าใช้จ่ายที่เป็นหมวดหมู่ ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ
ต่อไป เราจะพูดถึง บรรดาชุดค่าใช้จ่ายที่เป็นลักษณะของค่าธรรมเนียมบริการที่ติดสอยห้อยตามขึ้นมาแบบเลี่ยงไม่ได้ โดยบรรดาค่าใช้จ่ายในชุดนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับค่าดำเนินการกิจกรรมที่หรือสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้น โดยมักมีการเรียกเก็บกับตัวผู้ส่งออกหรือตัวผู้นำเข้าเป็นหลักไม่ได้วิ่งตามเก็บกับผู้ชำระค่าระวางหรือค่าเฟรท โดยเป็นค่าใช้จ่ายคนล่ะตัวและต่างกันกับ Origin/ DEST local charge ที่มักเรียกเก็บเป็นสกุลเงินท้องถิ่น เราลองมาดูกันว่ามีอะไรให้ต้องจ่ายกันบ้าง
2.1 *หมวดค่าธรรมเนียมประเภทค่าบริหารจัดการท่าและตู้สินค้า
PCS (Port Congestion Surcharge ) แปลตรงตัวคือค่าบริหารจัดการความหนาแน่นของท่าเรือ ถึงตรงนี้หลายคนสงสัยโดยเฉพาะคนทำขาเข้า ธรรมดาท่าแน่นรอสินค้าก็ว่าทรมานแล้วยังต้องช่วยจ่ายค่าความแน่นของท่าอีก แถมบางสายเรือเก็บค่าแน่นตลอดกาล
CIS/EIS/EBS ( Container/Equipment Imbalance Surcharge) ค่าบริหารจัดการกรณีตู้สินค้าไม่สมดุล เป็นอีกตัวที่หลายคนฟังแล้วก็ได้แต่สงสัย โดยค่าใช้จ่ายตัวนี้หลายเส้นทางขนส่งมีการระบุไว้ชัดเจนว่าค่าเฟรทยังรวมหรือไม่รวม หากแต่ส่วนใหญ่เป็นค่าภาระที่ผู้รับสินค้าปลายทางต้องรับโดยเฉพาะในแทบภูมิภาคเอเชียยังมีค่าใช้จ่ายตัวนี้อยู่
—————————————————-
2.2 *หมวดค่าธรรมเนียมประเภทการนำส่งข้อมูลบัญชีเรือและรายการสินค้าหรือ Manifest.
AMS (Automatic Manifest System) USA/ Mexico ตัวนี้หลายคนคงคุ้นเคยกันดี เพราะรู้ดีว่างานส่งออกไปสหรัฐอเมริกาค่อนข้างยุ่งยากก็ตรงการแจ้งข้อมูลบัญชีสินค้าล่วงหน้าหรือ AMS Manifest นี่ล่ะ เรียกว่าหลายคนเก่งและจำเวลาตัด AMS submit ได้แม่นเพราะโดนค่าปรับ 5000 เหรียญ รวมถึงการนำตัวย่อ AMS ไปใช้เรียกขั้นตอนการแจ้งบัญชีสินค้าล่วงหน้ากับเส้นทางหรือภูมิภาคอื่นๆอีกด้วย
ACI ( Canadian Advance Commercial Information – CBSA ) Canada หลายคนอาจคิดว่ามีแค่สหรัฐอเมริกาเท่านั้นเมื่อพูดถึงเรื่อง แจ้งบัญชีสินค้า หรือManifest ล่วงหน้า บ้านใกล้เรือนเคียงของสหรัฐอเมริกาอย่างแคนาดาก็มีค่าใช้จ่ายและต้องทำเหมือนกัน
AFR (Advance Filing Rules ) Japan / China-CCAM เพื่อนบ้านในเอเชียเราก็มีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการนำส่งข้อมูลล่วงหน้าเช่นกัน และแน่นอนมีผลบังคับใช้ในประเทศที่เข้มงวดอย่างจีนและญี่ปุ่น
ENS ( Entry Summary Declaration ) European Union สำหรับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป รวมถึงประเทศอื่นในยุโรปที่อยู่นอกกลุ่มสหภาพยุโรป หากแต่ต้องขนส่งไปโดยเรือสินค้าลำเดียวกันก็ต้องจ่ายและทำการแจ้งบัญชีสินค้าล่วงหน้าเช่นกัน
—————————————————-
จริงๆ ยังมีอีกหลายตัวย่อ หากเพื่อนๆ ผู้อ่านเจอตัวย่อไหนแปลกๆ ก็ทักมาถามแอดมินได้ ถ้าถามเยอะๆ อาจเขียนต่อภาคต่อไป ^^
และสำหรับผู้นำเข้า ส่งออก (หรือแม้กระทั่งชิปปิ้งเอง) ที่พบปัญหา อ่าน freight quotation แล้วลายตา หรือต้องใช้เวลาเอาข้อมูลมากรอก excel เปรียบเทียบ ให้ผู้บังคับบัญชาอนุมัติ หรือบางงาน ก็ไม่มีเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ เจ้าไหนเสนอราคามาเลย
แอดมินขอแนะนำ ZUPPORTS แพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยให้การเปรียบเทียบราคาขนส่งเป็นเรื่องง่าย โดยการเทียบราคาให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน สามารถดูเทียบได้เลย ว่าค่าเฟรท ที่แต่ละเจ้าเสนอมา ถูกหรือแพง ต่างกันตรงค่าใช้จ่ายส่วนไหนบ้าง
นอกจากนี้ ทาง ZUPPORTS ยังมีพันธมิตร เฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ ที่จะเข้ามาเสนอราคาและบริการให้กับผู้นำเข้าส่งออก อีกด้วย คิดภาพว่าเป็น Agoda แห่งวงการขนส่งระหว่างประเทศเลยทีเดียว
เรียกว่ายิงนัดเดียวได้นก 2 ตัว ลดทั้งเวลาทำงาน และลดต้นทุน ด้วย ระบบเปรียบเทียบราคาให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีเฟรทฟอร์เวิร์ดเดอร์ มาแข่งขัน เพิ่มเติม เสนอราคาและบริการเป็นทางเลือกให้เพิ่มอีกด้วย
และสำหรับเพื่อนๆที่อยากเช็คราคาขนส่งระหว่างประเทศทางเรือแบบ FCL หรือเต็มตู้ สามารถเช็คแนวโน้มราคาแบบง่ายๆ ได้เลยที่ https://zupports.co/our-services/
ซึ่งใน website จะแสดงราคาย้อนหลัง 3 เดือน
ส่วนใครอยากเห็นข้อมูลราคามากกว่านี้ มีราคาเดือนล่าสุดพร้อมราคา ย้อนหลัง 2 ปี หรือถ้าสนใจอยากจองเรือก็กดปุ่ม “Book Now” ได้เลยง่ายๆ
ใครอยากทดลองใช้งานฟรี 3 lanes ลงทะเบียนได้เลย
https://forms.gle/ftfWmJxPumykSfQZ8
เพื่อนๆ ที่สนใจลงทะเบียนทดลองใช้งาน ZUPPORTS ได้แล้ววันนี้ที่ zupports.co/register
=========================
ไม่พลาดทุกข่าวสาร วงการขนส่งระหว่างประเทศ
นำเข้า ส่งออก เข้าร่วมกลุ่มที่ https://bit.ly/3seJRLk
=========================
สนใจบทความอื่นๆ ใน Series นี้อ่านได้ที่
นำเข้า ส่งออก 101 EP.3: รู้ทันราคาเฟรท FAK Rate, Premium Rate, Diamond Rate !???
https://zupports.co/import-export-101-ep3-freight-rate/
นำเข้า ส่งออก 101 EP.2: 4 เทศกาลสำคัญ ที่มีผลต่อการนำเข้า ส่งออก
https://zupports.co/4-period-in-a-year-effect-global…/
นำเข้า ส่งออก 101 EP1: รู้จัก ปรากฏการณ์แส้ม้า Bullwhip Effect
https://zupports.co/bullwhip-effect-causes-and-mitigations/
#ZUPPORTS
#OnlineFreightManagementService
#นำเข้า #ส่งออก #เฟรท
#นำเข้าส่งออกสุดขอบฟ้า