ZUPPORTS 101: รู้จากการขนส่งแบบ Sea LCL หรือ Less than Container Load !!

ZUPPORTS 101: รู้จากการขนส่งแบบ Sea LCL หรือ Less than Container Load !!

.
เชื่อว่า เพื่อนหลายคนอยู่ในแวดวงการนำเข้า-ส่งออก โดยเฉพาะ คนที่ดูแลส่วนงานที่เป็นการขนส่งสินค้าทางทะเล จะต้องเคยเห็นสองคำนี้เป็นประจำ รวมถึง น่าจะรู้กันดีอยู่แล้วกับคำว่า FCL ว่าคือการขนส่งแบบเต็มตู้ และ Sea LCL คือการขนส่งในรูปแบบที่ไม่เต็มตู้ เนื่องจาก ถือเป็นพื้นฐานในการทำงานขนส่งทางเรือ !!
.
หากแต่ อีกหลายคนที่เป็นผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกป้ายแดง รวมถึง บรรดาน้องใหม่ในวงการขนส่งสินค้าทางเรือ มักมีคำถามอยู่ในใจเสมอ ว่าแท้ที่จริงแล้ว ไอ้เจ้าสองคำพื้นฐานที่ว่า มันมีความแตกต่าง โดยเฉพาะคำว่า LCL ซึ่งมีความซับซ้อนมากกว่า คำว่า FCL หรือมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง ??
.
ดังนั้นในวันนี้ เราจะมาลงลึกกันถึงพื้นฐานของไอ้เจ้า คำว่า LCL หรือ Less than Container Load กัน !!
.
คำว่า FCL และ LCL นั้น มันคือ ประเภทของรูปแบบการขนส่ง ภายใต้การขนส่งสินค้าทางเรือด้วยตู้สินค้า หรือ Sea Freight Container
.
มาเริ่มกันที่ตัวแรก ที่ดูจะทำความเข้าใจง่ายที่สุด และคงไม่ต้องอธิบายกันเยอะ อย่างคำว่า FCL ซึ่งมาจากคำเต็มที่ว่า Full Container Load ซึ่งความหมายก็ชัดเจนตรงตัว ไม่มีความซับซ้อนอะไรมากนักสักเท่าไร ว่า การส่งแบบเต็มตู้นั้น ก็คือการที่ตู้ใบนั้นเป็นของเราคนเดียว !!
.
ซึ่งการขนส่งในรูปแบบเต็มตู้นี้ สาระสำคัญ หรือสิ่งที่เราต้องรู้นั้นก็คือ ตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภท มันมีความแตกต่างกันที่ตรงไหน ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์สำหรับสินค้าประเภทไหน เพื่อที่จะสามารถเลือกประเภทของตู้ได้ตรงกับความต้องการของเรา
.
ขณะเดียวกัน รูปแบบการขนส่ง LCL หรือ ที่มาจากคำเต็ม ว่า Less than Container Load นั้น ถูกออกแบบมาสำหรับงานขนส่ง ที่ไม่ได้มีจำนวนสินค้ามากมาย หรือ เยอะพอที่จะขนส่งไปคนเดียวแบบเหมาทั้งตู้คอนเทนเนอร์ ดังนั้น การขนส่งในรูปแบบไม่เต็มตู้ หรือ LCL Mode จึงดูจะตอบโจทก์ สำหรับคนมีสินค้าน้อย ขนาดสินค้าไม่ใหญ่มากนัก !!
.
ทั้งนี้ งานในรูปแบบไม่เต็มตู้ จะเป็นการที่ Freight Forwarder ไปทำการจองเรือ หรือซื้อพื้นที่ระวางจากสายการเดินเรือ ในรูปแบบ FCL ก่อนที่จะมาทำการซอยพื้นที่ย่อยภายในตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อทำการแบ่งขาย ในรูปแบบ LCL ซึ่ง ผู้ที่ให้บริการในลักษณะนี้ เราจะเรียกเขาว่า Agent Co-Loader / Consolidator
.
ปัจจุบัน การขนส่งสินค้าในรูปแบบไม่เต็มตู้ หรือ LCL Consolidation นั้น แบ่งการให้บริการออกเป็นสองประเภทหลักๆ ตามภาพใหญ่ของการให้บริการ คือ LCL Direct Service กับ LCL Re-Consolidation ซึ่ง บริการ LCL ทั้งสองประเภท จะมีความแตกต่างกันตรงที่ ??
.
LCL Direct Service คือการที่ผู้ให้บริการรับขนส่ง ประเภท Agent Co-Loader / Consolidator ให้บริการเปิดตู้ โดยที่ทำการจองเรือกับสายการเดินเรือ ไปยังปลายทางนั้นๆ โดยตรง เช่น Agent Co-Loader เปิดตู้ไปยังท่าเรือปลายทาง อย่าง CHSHA หรือ DEHAM นั่นหมายถึง ตู้ที่เปิดตู้ให้บริการ จะต้องไปทำการจองเรือกับสายการเดินเรือตรงไปยังสองท่าเรือที่ว่า
.
ในขณะที่ ประเภท LCL Re-Consolidation มันคือการที่ Agent Co-Loader / Consolidator ทำการเปิดตู้ไปยังท่าเรือใดท่าเรือหนึ่งก่อน จากนั้น ทำการแกะตู้ขนถ่ายสินค้าออกกลางทาง เพื่อให้ตัวแทนหรือเอเยนต์ของตนทำการจองเรืออีกครั้ง ก่อนจะทำการบรรจุสินค้าเข้าตู้ใบใหม่ เพื่อส่งไปยังปลายทาง เช่น เมื่อเห็นคำว่า Re-Consol Singapore คือรู้ไว้เลยว่า ตู้คอนเทนเนอร์ใบนี้ จะต้องถูกถ่ายตู้อีกครั้งที่สิงคโปร์ ก่อนส่งไปที่ปลายทาง !!
.
ในโลกปัจจุบัน ก็มีบรรดา Freight Forwarder ทั่วไปจำนวนไม่น้อย ที่สามารถให้บริการพลิกแพลงการให้บริการได้แทบจะในทุกมิติ ไม่ต่างจาก Agent Co-Loader / Consolidator เท่าไร หากแต่ส่วนใหญ่ มักจะรับงาน ในรูปแบบการรวบรวมสินค้าจากหลายผู้ส่งออกที่ต้นทาง เพื่อขนส่งให้กับผู้นำเข้ารายเดียวที่ปลายทาง หรือถ้าจะพูดให้เห็นภาพ มันก็เหมือนการที่เราไปเดินซื้อเฟอร์นิเจอร์จากหลายร้านในงานแสดงสินค้า แล้วให้ผู้จัด หรือใครสักคนรวบรวมมาส่งบ้านเราทีเดียว !!
.
ทั้งนี้ การขนส่งในรูปแบบที่ไม่เต็มตู้ หรือ Sea LCL นั้น เป็นการขนส่งที่ค่อนข้างสะดวก ทุกเรื่องที่ว่ายากสำหรับงานเต็มตู้ จะกลายเป็นเรื่องเล็กทันที เนื่องจากผู้รับขนส่ง Agent Co-Loader / Consolidator แถบจะบริการทำให้คุณได้ทุกอย่าง หากแต่ คุณต้องระลึกอยู่เสมอและไม่ลืมว่า ภายในตู้ไม่ได้มีเพียงแค่สินค้าของคุณแต่เพียงผู้เดียว !!!
.
ดังนั้น เรื่องที่ว่าเล็กอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ทันที หากมีเหตุในลักษณะที่ผิดปกติไปจากเดิม จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม นั่นหมายถึงสินค้าของผู้ส่งออกรายอื่นในตู้เดียวกัน จะโดนติดร่างแหไปกับเราด้วยทันที ซึ่งหมายถึง หากคุณต้องการทำอะไรสักอย่าง หรือเปลี่ยนแผนการขนส่ง เช่น ในกรณีที่เกิดเปลี่ยนใจ ขอ Break ตู้กลางทางเพื่อตัดซีล รื้อตู้นำสินค้ากลับ คุณอาจต้องทำจดหมายแสดงความรับผิดชอบต่อสินค้าของทุกคนในตู้ที่อยู่ร่วมกับคุณ !!!
.
และด้วยงานขนส่งแบบไม่เต็มตู้ หรือ LCL Service นั้น มันมีความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ ดังนั้น พื้นฐานที่ รวมถึงการมีพันธมิตร ด้านขนส่ง หรือ Freight Forwarder ที่มีความชำนาญแน่น จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก รวมถึงหลายคน ก็คงหายสงสัยกันแล้ว เวลาที่เห็นคำว่า Re-Consol !!!
.
Tips : งานขนส่งด้วยตู้สินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิ หรือ Reefer Container ไม่สามารถทำการขนส่งในรูปแบบ ไม่เต็มตู้ หรือ LCL เนื่องจากสินค้าที่ต้องขนส่งแบบควบคุมอุณหภูมินั้น ต้องการค่าอุณหภูมิหรือความเย็นที่ต่างกัน รวมถึง ปัจจัยทางกายภาพหน้างานต่างๆ เช่น การบรรจุสินค้าที่ท่าเรือ หรือ CFS cargo
.
Tips : งาน LCL Direct Service นั้น มักจะเป็นงานที่ขนส่งไปยังกลุ่มท่าเรือหลัก หรือเมืองที่มีความต้องการในการขนส่งที่สูง ขณะที่ บริการ LCL Re-Consolidation มักจะเป็นงานที่ขนส่งไปยังท่าเรือ หรือเมืองที่ไม่ใช่ MAIN HUB เนื่องจากความต้องการหรือสินค้าที่ไปท่าเรือรองเหล่านี้ค่อนข้างน้อย จึงต้องมีการรวบรวมสินค้าเพิ่มเติมที่จุดถ่ายลำหลัก อย่าง SGSIN, HKHKG, KRBUS เป็นต้น
.
Tips : LCL Service คล้ายกับการซื้อส่งแล้วมาแบ่งขายปลีก หรือการเช่าตึกแล้วมาแบ่งกั้นห้องให้คนเช่าอยู่ต่อ ซึ่งเท่ากับว่าภายตู้คอนเทนเนอร์นั้น จะบรรจุไปด้วยสินค้าที่ค่อนข้างหลากหลาย ทั้งประเภทของสินค้าและประเภทของหีบห่อสินค้า ดังนั้น การแพคสินค้าด้วยหีบห่อ หรือ Package ที่เหมาะสม จะช่วยให้สินค้าเราปลอดภัยตลอดการขนส่ง

=========================

จองส่งออกทาง เรือ  LCL กับ ZUPPORTS

ลงทะเบียนที่ https://zupports.co/register/

=========================

พิเศษ! ZUPPORTS POST

กลุ่มไลน์ Openchat สำหรับ คนในวงการ นำเข้า ส่งออก เข้ามาสอบถามข้อมูล ติดตามข่าวการค้า การขนส่งระหว่างประเทศกันได้ที่ https://bit.ly/3seJRLk

ข่าวสารอื่นๆ